ความเป็นมา และ ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป และ ความเป็นมา
1. ข้อมูลทั่วไป และ ความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา | โรงเรียนอมาตยกุล |
ชื่อภาษาอังกฤษ | AMATYAKUL SCHOOL |
ตั้งอยู่ที่ | เลขที่ 100/20 ซอยพหลโยธิน 51 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 |
โทรศัพท์ | 02-9728890, 02-9728894 |
โทรสาร | 02-9728895 |
amatschool@yahoo.com | |
Website | www.amatyakulschool.com |
เปิดสอนระดับชั้น | อนุบาล 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
เนื้อที่ | 9 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา |
ผู้รับใบอนุญาต | นายเกียรติวรรณ อมาตยกุล |
ผู้จัดการ | นางรัชนี อมาตยกุล |
ผู้อำนวยการ | นางคำดี ศิริสุนทร |
ประวัติความเป็นมา
มูลเหตุและเจตนารมณ์ของการก่อตั้งโรงเรียนอมาตยกุล
โรงเรียนอมาตยกุล เป็นโรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยใช้ปรัชญานีโอฮิวแมนนิสเป็นแม่บทในการดำเนินงาน มีหลักและความเชื่ออยู่ 5 ประการได้แก่
1. การมีคลื่นสมองต่ำ
2. การประสานของเซลล์สมอง
3. ภาพพจน์ต่อตัวเอง
4. การให้ความรัก
5. การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง คือเน้นการบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณที่น้อย
ปี 2533 รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล อาจารย์ประจำคณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนอมาตยกุลและได้กล่าวไว้ดังนี้
“ผมเปิดร.ร.นี้คิดด้วยความคิดแรกที่ว่าสมัยที่ผมเป็นเด็กผมไม่ชอบไปโรงเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน รอวันเสาร์-อาทิตย์ รอวันปิดเทอม ผมว่าครูบางคนมีเจตนาดีแต่ครูบางคนชอบใช้วิธีลบๆ ซึ่งผมไม่ชอบเลย ซึ่งก็เป็นธรรมดาของเด็กที่ไม่ชอบด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นอุดมการณ์อันดับหนึ่งของผมก็คือการเปิดโรงเรียนที่ทำให้เด็กอยากมาโรงเรียน ทำโรงเรียนให้เป็นสถานที่ที่มีความสุขมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประการที่ 2 ผมชอบเล่นเทนนิสมากจึงมีความต้องการที่จะนำกีฬาเทนนิสเข้ามาผสมผสานกับการเรียนการสอนในโรงเรียน จะสังเกตได้ว่าโรงเรียนมีสนามเทนนิสถึง 3 สนาม เด็กๆ ได้เล่นกีฬามากก็มีความสุข ส่วนอุดมการณ์ที่ 3 นั้น ผมศึกษาปรัชญาการดำเนินการโรงเรียนมาหลายรูปแบบ ท้ายที่สุดประทับใจแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส จึงอยากที่จะนำมาใช้เป็นแนวคิดแม่บทในการดำเนินการโรงเรียนอมาตยกุล”
“โรงเรียนอมาตยกุลจะเน้นเรื่องของความคิดด้านบวก (Positive Thinking) เพราะเชื่อว่าความรู้สึกของตัวเองจะเป็นคนกำหนดชะตากรรมของเรา ถ้าเรารู้สึกกับตัวเองว่าเราเป็นคนอย่างไรเราก็จะเป็นอย่างนั้น คำพูดที่เราได้ยินเสมอตั้งแต่เด็กจะฝังในจิตใจกลายเป็นทัศนคติ ยิ่งถ้าผู้ใหญ่พูดว่าเด็กคนนั้นเป็นอย่างไรเขาจะคิดว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นจริงๆ มีเด็กคนหนึ่งบอกว่า “ผมเขียนสวยไม่ได้หรอกครับ แม่บอกว่าผมเป็นคนลายมือไม่สวย ซึ่งแม้ครูจะพยายามลบล้างและให้กำลังใจอย่างไร เด็กคนนั้นก็ยังยืนยันความคิดเดิม”
“ที่โรงเรียนอมาตยกุลเรามักไม่ได้ยินคำติเตียน แต่จะแจกจ่ายคำชมและรอยยิ้มและบอกดีๆ ให้แก้ไข นอกจากคำชมแล้วที่นี่ยังใช้รอยยิ้มกันเปลืองมากเพราะเชื่อว่าการเติมเต็มความรักเป็นหน้าที่สำคัญของครู คาถาของการให้ความรักนอกเหนือจากคำชมก็คือ การยิ้ม สบตา สัมผัส เป็นการยอมรับความเป็นมนุษย์ของคนคนนั้น เป็นการให้พลังเติมเต็ม”
“การที่เด็กมีปัญหาในปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราใช้วิธีทางลบกับเด็ก โดยเฉพาะการเปรียบเทียบ ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่ดี คนเราถ้าข้างในรู้สึกดี รู้สึกว่าตัวเองมีค่า ไม่รู้สึกขาด ก็ไม่ต้องหาทางออก ไม่ต้องใช้ของแพง ไม่ฟุ้งเฟ้อและไม่ต้องพึ่งยาเสพย์ติด”
“ที่นี่เราเก็บค่าเทอมไม่แพง เกือบจะถูกที่สุดในย่านนี้ด้วยซ้ำไป ผมเจตนาให้คนทุกระดับสามารถส่งลูกหลานมาเรียนได้ และให้เกิดสังคมหลากหลาย เด็กๆ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน เป็นนโยบายแต่แรกที่เปิดโรงเรียน และผู้ปกครองเองก็รับทราบครับ”
“ถึงวันนี้ผมพอใจนะครับ ผมว่าทุกอย่างเกินฝัน จากแรกทีเดียวผมฝันเพียงมีโรงเรียนที่สนุกๆ มาถึงวันนี้นอกจากเด็กๆ จะสนุก มีความสุขแล้ว ผมว่าพวกเขายังเก่งอย่างเหลือเชื่ออีกด้วย เด็กแต่ละคนมีแกนกลางของชีวิตเดียวกันแต่มีรูปแบบและลีลาความเป็นตัวของตัวเองต่างๆ กัน เด็กที่นี่ผมว่าไม่ก้าวร้าวนะ เด็กชั้นมัธยมเป็นตัวของตัวเองก็จริงและเป็นเด็กโตที่ยังพูดกันรู้เรื่อง ครูไม่ค่อยหนักใจ ที่สำคัญที่สุดและเป็นโชคดีของสังคม ผมว่าเราได้ครูดีมากมาย ครูที่นี่ผมยอมรับเลยว่าจิตใจดี ขยัน ทำงานเป็นระบบและส่วนใหญ่มีอุดมการณ์”
กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ร.ร.อมาตยกุล ที่อาจารย์เกียรติวรรณวางไว้เป็นดังนี้
1. ต้องเป็นโรงเรียนสนุกๆ เด็กต้องรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน
2. ต้องไม่เก็บค่าเทอมแพง
3. ต้องมีการฝึกสมาธิ
4. ต้องมีกีฬาเทนนิส
5. ต้องการสร้างทั้งผู้ใหญ่และเด็กและผู้ปกครองไปพร้อมกัน
6. ครูต้องเก่งราวกับเป็นนักแสดงที่จะดึงดูดคนตัวเล็กไว้ได้
7. ต้องไม่มีการนำสัตว์ใหญ่เข้ามารับประทานในโรงเรียน
8. จะพัฒนาช้าๆ แต่มั่นคง
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
ปี 2533 รองศาสตราจารย์ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความคิดริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนอมาตยกุล โดยชื่อเดิมคือ โรงเรียนอนุบาลอมาตยกุล ต่อมาในปี 2536 ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอมาตยกุล ตามใยอนุญาตเลขที่ กส 386/2536 ใช้อักษรย่อ อมก
แรกเริ่ม ในปี 2533 โรงเรียนอมาตยกุลเปิดสอนเฉพาะระดับชั้นอนุบาล 1-3 มีนักเรียน 55 คน ปีต่อๆ มา ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น และ ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น ดังนี้
พฤษภาคม 2533 เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-3 ก่อสร้างอาคารเรียน 1 ชั้น สำหรับชั้นอนุบาล
พฤษภาคม 2536 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนอนุบาลอมาตยกุล เป็นโรงเรียนอมาตยกุล เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้นหลังที่ 2 และสนามเทนนิส
ตุลาคม 2540 ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นหลังที่ 3 สำหรับชั้นประถมศึกษา
พฤษภาคม 2542 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มกราคม 2545 ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นหลังที่ 4 และ โรงยิม สำหรับชั้นมัธยมศึกษา
เมษายน 2551 ก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้นหลังที่ 5 สำหรับชั้นมัธยมศึกษา
มิถุนายน 2559 ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นหลังที่ 6 ใช้เป็นห้องเรียน และห้องประกอบ สำหรับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษา
พฤษภาคม 2561 ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นหลังที่ 7 สำหรับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา
2. ข้อมูลครู บุคลากร และนักเรียน ปีการศึกษา 2562
1) จำนวนครูและบุคลากร
- จำนวนผู้บริหาร 3 คน
- จำนวนครูไทยที่บรรจุ 93 คน
- จำนวนครูไทยที่รอการบรรจุ – คน
- จำนวนครูต่างชาติ 4 คน
- จำนวนครูพี่เลี้ยง 11 คน
- จำนวนพนักงานทั่วไป 25 คน
- จำนวนพนักงานขับรถ 12 คน
- จำนวนรวมทั้งสิ้น 147 คน
2) วุฒิการศึกษาสูงสุดของครูและบุคลากร

3) ข้อมูลนักเรียน จำนวนนักเรียนปีการศึกษา 2562

ณ 10 มิถุนายน 2562 1,766 คน
** นักเรียนจำนวนหนึ่งเข้าโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน จึงต้องลาพักการศึกษา 1 ปี
Recent Comments